อาการตาขวากระตุกทั้งวัน ในแง่มุมของความเชื่อโบราณ อาจจะมองเป็นเรื่องของโชคลาง อย่างความเชื่อที่ว่าตากระตุกขวาร้าย ซ้ายดี แต่รู้หรือไม่แท้จริงแล้ว อาการตากระตุกนั้น เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งวิธีแก้ไม่ใช่การแก้เคล็ดแต่อย่างใด แต่เป็นการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการตากระตุก จะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

ทำความรู้จักอาการตาขวากระตุกทั้งวัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอาการตากระตุกในเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งตากระตุก (Eye Twitching) คือ ปฏิกิริยากล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา เกิดการกระตุกหรือขยับโดยที่เราไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณรอบ ๆ เปลือกตา ทั้งตาบนและตาล่าง โดยอาการกระตุกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย อาการโดยรวมไม่รุนแรง แต่ในกรณีบางรายอาจสัมผัสได้ถึงเปลือกตาขวากระตุกทั้งวัน กระตุกข้างใดข้างหนึ่ง หรือกระตุกรุนแรงจนตาปิด ในกรณีดังกล่าว ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุต่อไป

เข้าใจอาการตากระตุก

ตากระตุกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่วนใหญ่แล้วตากระตุก มักจะไม่สร้างความรุนแรงใด ๆ หรือบางทีอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากล้ามเนื้อตากระตุกหรือขยับเอง ดังนั้น อาการตากระตุกสามารถหายได้เองภายไม่กี่นาที หรือร่างกายได้รับการพักผ่อน แต่บางกรณีอาการตากระตุก็สามารถบ่งบอกสัญญาณความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราได้ เช่น อาการตาขวากระตุกทั้งวัน รวมถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายรุนแรงได้ในอนาคต ซึ่งวิธีสังเกตอาการตากระตุกแบบผิดปกติ คืออาการกระตุกมักจะลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของใบหน้าที่นอกจากบริเวณดวงตานั่นเอง

ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ตากระตุก

อาการตากระตุก เกิดขึ้นจากการสั่งการของสมอง ร่วมกับกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้ตากระตุก รวมถึงอาการตาขวากระตุกทั้งวัน มีดังนี้

  • ความเครียด – ความเครียดคือภาวะที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณสมองที่เชื่อมกับดวงตาเช่นกัน เนื่องจากความเครียดจะส่งผลทำให้ใบหน้าของเราเกิดการขมวด หดเกร็งของกล้ามเนื้อ จึงส่งผลต่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาทันที
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ – การอดนอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดวงตาของเราอย่างชัดเจน เนื่องจากดวงตาจะเกิดอาการล้าจากการอดนอน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกิดอาการเมื่อยล้า เกิดอาการตาขวากระตุกทั้งวันได้เช่นกัน
  • ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ – การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ส่งผลต่อสมองที่เชื่อมกับกล้ามเนื้อดวงตาได้ และการสูบบุหรี่ก็เช่นกัน ควันจากการเผาไหม้ของยาเส้นที่เจือปนไปด้วยสารเคมี อย่างเช่น นิโคตินในควันบุหรี่จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงยังสมอง หรือที่เรียกว่าความดัน จนส่งผลทำให้เกิดอาการกระตุกบริเวณรอบดวงตาได้นั่นเอง
  • รับประทานยาบางชนิด – ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงเช่น กล้ามเนื้อตากระตุก เป็นต้น
  • อาการระคายเคืองตา – ดวงตาเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบาง หากฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอม เข้าไปยังในดวงตาก็สามารภกระตุ้นอาการตากระตุก รวมถึงตาแพ้แสง หรือมองแสงจ้ามากและนานจนเกินไป

ตากระตุกทั้งวันผิดปกติ บ่งบอกสัญญาณโรคอะไรบ้าง?

อาการตาขวากระตุกทั้งวัน รวมถึงตากระตุกอย่างรุนแรง จนเปลือกตาปิด กรณีนี้ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะโดยด่วน เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณ บ่งบอกถึงโรคเรื้อรังหรือโรคอันตรายในระยะยาวได้ ซึ่งโรคเหล่านั้นก็มีดังนี้

  • โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง
  • โรคอัมพาตบริเวณใบหน้า
  • โรคขากรรไกรบิดเกร็ง
  • โรคทูเร็ตต์

ซึ่งอาการของโรคข้างต้นนั้น จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรงเช่น หน้าผิดรูปจนไม่สามารถสื่อสารได้ปกติ โดยผู้ป่วยอาจจะพูดไม่ชัด หรืออาจถึงขั้นพูดไม่ได้ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายค่อนข้างทำได้ลำบาก บางรายอาจถึงขั้นเป็นโรคพาร์กินสันได้เลยทีเดียว ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ส่งผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อ อย่างเช่น อาการแขนขาสั่น และกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

วิธีรักษาอาการตากระตุก

  • ประคบร้อนด้วยผ้าสะอาดอุ่น ๆ บริเวณรอบดวงตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ดวงตา
  • ในกรณีที่ดวงตาแห้งอันเป็นสาเหตุทำให้ดวงตากระตุก สามารถแก้ได้ด้วยการน้ำยาหยอดตาเทียม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมลดความเครียดทำ

สำหรับวิธีรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางนั้น หากอาการไม่รุนแรง แพทย์จะทำการจ่ายยากลุ่มโคลนาซีแพมก็จะสามารถบรรเทาอาการตากระตุกได้ในระยะเวลาหนึ่ง บางรายกระตุกรุนแรงแพทย์อาจจะฉีดโบทอกซ์ เพื่อบรรเทาอาการ และขั้นตอนสุดท้ายในการแก้อาการตาขวากระตุกทั้งวันก็คือ การผ่าตัดกล้ามเนื้อบริเวณที่ดวงตากระตุกรุนแรง ซึ่งถือเป็นวิธีรักษาโรคกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้าและดวงตาที่ผิดปกตินั่นเอง