เท้าบวม (Swollen Feet) เป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน แนวทางของการรักษานั้นจะแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยสามารถรักษาได้ด้วยตนเองหรือเข้าพบแพทย์ก็ได้เช่นกัน โดยอาการเท้าบวมนั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ในการเกิดโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นลองมาดูกันว่าดูดไขมันเจ็บไหมสาเหตุที่ทำให้เกิดเท้าบวมนั้นเกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีในการรักษาอย่างไรบ้าง

อาการเท้าบวมเกิดจากปัจจัยใด

เท้าบวม (Swollen Feet) มักมีอาการที่แตกต่างกันออกไป โดยอาการที่พบเห็นได้บ่อยครั้งและเป็นอาการที่เด่นชัดนั้นมีดังนี้

  • บริเวณเท้าหรือบริเวณข้อเท้านั้นมีการขยายใหญ่ขึ้น และเมื่อสัมผัสจะมีความรู้สึกนิ่มจนผิดปกติ
  • บริเวณบวมจะมีสีที่แตกต่างจากสีผิวหนังปกติของเราโดยจะมีสีซีดลง
  • เมื่อถอดรองเท้าแตะจะเห็นรอยชัดเจนมากขึ้นและอาจมีอาการอึดอัดหรือรองเท้าที่ใส่จะแน่นกว่าปกติ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเท้าบวม

เท้าบวม (Swollen Feet) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้าโดยตรงหรือขึ้นบริเวณข้อเท้า สาเหตุที่พบได้บ่อย มีสาเหตุดังนี้

  • อาการเจ็บบริเวณเท้าหรือข้อเท้า โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บนั้นมักจะมาจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลง หรือข้อเท้าแตกซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ก็มักจะทำให้เกิดข้อเท้าบวม ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเดินของผู้ป่วยได้ วิธีในการรักษาในแต่ละสาเหตุก็จะมีวิธีในการรักษาที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของอาการ
  • หลอดเลือดดำทำงานบกพร่อง เมื่อหลอดเลือดดำทำงานบกพร่องก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อย ของการเกิดเท้าบวม โดยเลือดดำนั้นไหลเวียนจ่ายลงบนเท้าหรือขาไม่เพียงพอ สาเหตุดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะทำให้อาการหายได้เองโดยใช้เวลาที่รวดเร็ว
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเท้าบวมนั้นจะพบเห็นได้บ่อยกับผู้ที่มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน สาเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานนั้นจะพบเห็นได้บ่อยมาก เนื่องจากส่วนประสาทบริเวณปลายเท้า ทำให้เกิดแผลง่ายกกว่าคนทั่วไปปกติ จึงทำให้มีการลุกลามไปถึงบริเวณเท้าและข้อเท้าในที่สุด
  • ภาวะบวมน้ำเหลือง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเหลืองชั้นบนใต้ผิวหนัง โดยภาวะนี้จะทำให้เกิดเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ จะพบได้กับทุกเพศทุกวัย
  • โรคต่างๆ โรคเป็นสาเหตุที่สามารถพบอาการเท้าบวม ทำให้เกิดอาการเท้าบวมแทรกซ้อนขึ้นมาร่วมด้วย ได้แก่โรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเป็นต้น โดยโรคเหล่านี้จะทำให้เกิดการกำจัดน้ำเสียในร่างกายผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการเท้าบวมขึ้นมา
  • ของเหลวสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบวมบริเวณข้อเท้าและบริเวณเท้า
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เมื่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางประเภทก็จะทำให้มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาได้เช่นกัน ซึ่งอาการข้างเคียงจากการใช้ยาจะพบเห็นได้บ่อยครั้งโดยเฉพาะในการใช้ยาประเภทการปรับฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ และยาประเภทอื่นๆ

วิธีป้องกันการเกิดเท้าบวม

เท้าบวม (Swollen Feet) เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งจะมีวิธีในการป้องกันเพื่อให้ลดอาการเท้าบวมและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ดังนี้

  • ลุกเดินให้บ่อยครั้งมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวไปสะสมอยู่บริเวณขาและเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเท้าบวม
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดอาการบวมตามอวัยวะต่าง ๆ ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมบริเวณเท้าได้ง่ายมากขึ้น
  • ควรบริโภคเกลือในปริมาณที่เหมาะสม เกลือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการบวมของเท้า ซึ่งหากผู้ป่วยนั้นลดปริมาณการบริโภคเกลือลงก็จะช่วยลดอาการบวมของเท้าได้เช่นกัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายนอกจากที่จะช่วยลดอาการบวมของเท้าได้แล้ว ยังช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดี

อาการเท้าบวมสามารถขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนั้นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการเท้าบวม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยคุณสามารถนำวิธีป้องกันที่เราแนะนำนี้ไปใช้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการเท้าบวมขึ้นได้